Untitled Document
 
 
   
 
 
 
  You are here: ประตูมอเตอร์ อุปกรณ์เสริม
   
 
 
       ความรู้ทั่วไป เกี่ยวกับประตูรั้วอัตโนมัติ
1. ประตูรีโมทบานเลื่อน

         ประตูรีโมทบานเลื่อน (Sliding Gate) คือประตูที่มีทิศทางการเปิด-ปิดของประตูเป็นแบบเลื่อนขนานกับพื้น ซึ่งมีหลากหลายประเภท ขึ้นอยู่กับขนาดกำลังของมอเตอร์และชนิดของมอเตอร์ที่ใช้ในการขับเคลื่อนประตู อันได้แก่ มอเตอร์ที่ใช้ไฟ A/C หรือไฟฟ้ากระแสสลับ ซึ่งมีทั้งแบบ Single Phase และ Three phase โดยทั่วไปนิยมใช้กับประตูที่ต้องการแรงขับเคลื่อนและแรงบิดสูง มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับจะมีประสิทธิภาพสูงกว่า ราคาถูกกว่า และทนทานกว่าเมื่อเทียบกับมอเตอร์ที่ใช้ไฟฟ้ากระแสตรงในขนาดพิกัดกำลังเท่ากัน ด้วยลักษณะโครงสร้างที่ไม่ซับซ้อนและรูปร่างกระทัดรัด ทำให้มอเตอร์ไฟฟ้าชนิดนี้เป็นที่นิยมแพร่หลาย และหาซื้อได้ง่ายกว่าแบบอื่นๆ แต่การควบคุมความเร็วของมอเตอร์กระแสสลับนั้นทำได้ยาก ซึ่งต้องการอุปกรณ์ทาง Power electronics อย่าง Inverter ที่มีราคาสูงมาช่วยควบคุมมอเตอร์ที่ใช้ไฟฟ้ากระแสตรง (DC) ซึ่งโดยมากจะใช้กับประตูที่ขนาดไม่ใหญ่นัก มอเตอร์ชนิดนี้มีความสามารถในการควบคุมความเร็วของมอเตอร์ได้อย่างดีเยี่ยม ตอบสนองได้รวดเร็ว และปรับความเร็วได้หลายระดับ แต่อย่างไรก็ตามมอเตอร์ชนิดนี้ไม่เป็นที่นิยมมากนัก เพราะมีราคาที่สูง มีขนาดใหญ่กว่า และมีค่าบำรุงรักษาที่สูงมากเนื่องจากมีส่วนสึกหรอของแปรงถ่าน และต้องเปลี่ยนถ่านอยู่ตลอดเวลา นอกจากนี้มอเตอร์ที่ใช้ไฟฟ้ากระแสตรงยังมีข้อจำกัดในการใช้งานในพื้นที่หรือบริเวณที่ใกล้กับสารไวไฟอีกด้วย


2. ประตูรีโมท แบบบานสวิง
        ประตูรีโมทบานสวิง (Swing Gate) คือประตูที่มีทิศทางการเปิด - ปิดของประตูเป็นแบบผลักโดยมีปลายสุดของ ประตูเป็นจุดหมุน ซึ่งชนิดของอุปกรณ์มอเตอร์ที่จะนำมาติดตั้งควบคุมประตูบานสวิงได้แก่
        2.1 ประตูรีโมทบานสวิงแบบฝังพื้น (Underground type)
        2.2 ประตูรีโมทบานสวิงแบบแขน (Arm type)

        ซึ่งมีทั้งแบบมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรง (DC) และมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับ (A/C) โดยมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับนิยมใช้กับประตูที่มีขนาดใหญ่หรือมีน้ำหนักตั้งแต่ 500 กก. ขึ้นไป และจะมีราคาที่แพงกว่า เมื่อเทียบกับมอเตอร์แบบกระแสตรงที่ใช้กับประตูที่น้ำหนักไม่เกิน 400 กก.
โดยปกติแล้วอายุการใช้งานของอุปกรณ์มอเตอร์ทั้งแบบบานเลื่อนและบานสวิงนั้นสามารถใช้ได้นานถึง 10 ปี หากเพียงแต่ผู้ใช้งานต้องดูแลรักษาประตูให้อยู่ในสภาพปกติสมบูรณ์ อาทิเช่น การปรับตั้งค่าที่รับน้ำหนักประตูสำหรับประตูรีโมทบานสวิงซึ่งถือว่าเป็นจุดที่สำคัญที่สุดซึ่งการใช้งานระยะยาว เพราะถ้าหากละเลยจะทำให้ประตูตกและจะทำให้ประตูฝืด ซึ่งเป็นเหตุให้มอเตอร์ไฟฟ้าต้องทำงานหนักกว่าปกติ (Overload) และสำหรับประตูรีโมทบานเลื่อนนั้นให้หมั่นตรวจสอบชุดลูกล้อประคองประตู เพลาประตูอยู่เป็นประจำ ว่าไม่ทรุดหรือบิดงอ เพราะลูกล้อที่มีความสำคัญอย่างยิ่งในการช่วยให้ประตูเลื่อนได้อย่างราบรื่น


อุปกรณ์ชุดรีโมทประตูรั้วอัตโนมัติ
       1. มอเตอร์ (Motor)
        ทำหน้าที่หลักคือ ขับเคลื่อนสะพานเฟืองที่ยึดติดกับประตูรั้วให้เดินหน้า - ถอยหลัง ตาม คำสั่งที่ได้รับจากชุดควบคุม
        2. ชุดควบคุม (Control Board)
        ชุดอิเลคทรอนิคส์ที่อยู่ในมอเตอร์ ทำหน้าที่เป็นแผงควบคุมของระบบสามารถปรับและ ตั้งการทำงานของมอเตอร์และอุปกรณ์ควบคุม ให้ทำงานสอดคล้องกันอย่าง เป็นระบบ
และต่อเนื่อง และจะประมวลผลคำสั่งที่ได้รับจากรีโมทไปยังมอเตอร์
        3. สะพานเฟือง (Metal Rack)
        แผ่นเหล็กฟันเลื่อยยึดติดกับบานประตู ซึ่งจะทำงานสัมพันธ์กับชุดมอเตอร์ช่วยให้บานประตูสามารถเลื่อนซ้าย-ขวาเมื่อมอเตอร์ทำงาน
        4. ชุดอินฟราเรด (Photo Cell)
        อุปกรณ์ส่งสัญญาณตรวจจับสิ่งกีดขวางบริเวณประตู เป็นระบบนิรภัยของประตูอัติโนมัติซึ่งถ้ามีสิ่งกีดขวางเช่น รถหรือคนเดินผ่าน ประตูจะหยุดเคลื่อนที่ทันที

        5. รีโมท (Transmitter)
         อุปกรณ์ควบคุมไร้สายแบบพกพา ใช้ในการสั่งการเปิด-ปิดของประตูด้วยคลื่นวิทยุโดย มอเตอร์หนึ่งเครื่องสามารถมีรีโมตสั่งการได้หลายตัว
        6. ลิมิตสวิทช์ (Limit Switch)
         เป็นอุปกรณ์ที่ใช้กำหนดระยะสิ้นสุดการ เปิด-ปิด ของประตูด้วยการเช็ครอบ โดยประตู แต่ละขนาดก็จะความกว้าง และระยะสิ้นสุดการ เปิด-ปิด ที่ต่างกัน


การคำนวณน้ำหนักของประตูบ้าน
         การทราบน้ำหนักของประตูมีผลต่อการเลือกขนาดของมอเตอร์ ซึ่งมอเตอร์แต่ละขนาดก็จะมีกำลังที่ต่างกัน ส่งผลต่อประสิทธิภาพและการทำงานในระยะยาวของประตูอัตโนมัติ การเลือกใช้ขนาดของมอเตอร์ที่ไม่เหมาะสม จะทำให้ระยะเวลาการใช้งานสั้นลง และเสียค่าซ่อมแซมภายหลัง
เราสามารถคำนวณน้ำหนักของประตูโดยประมาณได้จาก ความยาวและวัสดุที่ใช้ ดังนี้
ความยาวของประตู (เมตร) x น้ำหนักประตูรั้ว (ตามวัสดุที่ใช้) = น้ำหนักรวมของประตู
โดยทั่วไปน้ำหนักของประตูรั้วต่อเมตรมีน้ำหนักดังนี้ (ที่ความสูงประตูรั้วไม่เกิน 2 เมตร)
        1. ประตูรั้วสแตนเลส น้ำหนักประตูรั้วบานเลื่อนประมาณ 75 กก./เมตร
        2. ประตูรั้วเหล็กกล่อง น้ำหนักประตูรั้วบานเลื่อนประมาณ 100 กก./เมตร
        3. ประตูรั้วสแตนเลส ผสมกับไม้ น้ำหนักประตูรั้วบานเลื่อนประมาณ 175 กก./เมตร
        4. ประตูรั้วเหล็กกล่อง ผสมกับไม้ น้ำหนักประตูรั้วบานเลื่อนประมาณ 200 กก./เมตร
        5. ประตูรั้วอัลลอย น้ำหนักประตูรั้วบานเลื่อนประมาณ 225 กก./เมตร
 
ประตูรีโมท สำหรับประตูรั้ว บานเลื่อน
Automatic Sliding Gate

        ท่านสามารถเลือก ตามขนาดของประตู น้ำหนักของประตู ชนิดของประตู เหมาะกับ ประตูรั้วบ้าน ของท่าน ที่ทำมาจากวัสดุ ต่างๆ เช่น ประตูเหล็ก ประตูไม้ ประตูอัลลอย ประตูสแตนเลสสลับด้วยไม้ สินค้าคุณภาพ ที่ได้รับการรับรองมาตราฐาน นำเข้าจากต่างประเทศ อิตาลี่ สิงคโปร์ มาเลเซีย จีน ไต้หวัน และอื่นๆ
 
ตัวอย่างประตูรีโมท สำหรับประตูบานเลื่อน AC
ชนิด ไฟกระแสสลับ 220V แบบคลอย์แห้ง
ประตูรีโมท AC
รุ่น RogeDEA LIVIr 800
ประตูรีโมท AC
รุ่น Roger 600 kg.
ประตูรีโมท AC
รุ่น Roger 1200 kg.
ประตูรีโมท AC
รุ่น Roger 2200 kg
ประตูรีโมท AC
รุ่น CAME 800
ประตูรีโมท AC
รุ่น CAME1200
ประตูรีโมท AC
รุ่น CAME 2200
ประตูรีโมท AC
รุ่น CAME 800
ประตูรีโมท AC
รุ่น CAME 800
ประตูรีโมท AC
รุ่น CAME 800
ประตูรีโมท AC
รุ่น FAAC 741
ประตูรีโมท AC
รุ่น FAAC 884
 
ตัวอย่างประตูรีโมท สำหรับประตูบานเลื่อน AC
ชนิด ไฟกระแสสลับ 220V แบบคลอย์แช่น้ำมัน
ประตูรีโมท AC
รุ่น FAAC 746
ประตูรีโมท AC
รุ่น FAAC 844
ประตูรีโมท AC
รุ่น JAP ALBANO 2000A
ประตูรีโมท AC
รุ่น JAP ALBANO 2000B
ประตูรีโมท AC
รุ่น Talcoma 800
ประตูรีโมท AC
รุ่นTalcoma 1200
ประตูรีโมท AC
รุ่น Talcoma 2000
ตัวอย่างประตูรีโมท สำหรับประตูบานเลื่อน DC
ชนิด กระแสตรง 12V , 24V
ประตูรีโมท DC
รุ่น Centurion D2
ประตูรีโมท DC
รุ่น Centurion D5
ประตูรีโมท DC
รุ่น Centurion D10
ประตูรีโมท DC
รุ่น CAME 800
ประตูรีโมท DC
รุ่น JAP E-8
     
มอเตอร์ AC กับ DC ต่างกันยังไง อะไรดีว่ากัน
        มอเตอร์ AC กินไฟกระแสสลับ 220V ส่วนมอเตอร์ DC กินกระแสตรง 12V ที่ผ่านจากแบตเตอรี่ คุณสมบัติที่ดีของ มอเตอร์ AC ให้กำลังมากและทนทาน ใช้ได้กับประตูทุกประเภท เพราะเป็นมอเตอร์อุตสาหกรรม เมื่อเปรียบเทียบในสัดส่วนกำลังที่เท่ากัน มอเตอร์ AC ราคาถูกกว่า มอเตอร์ DC ดังนั้นเพื่อให้ราคามอเตอร์ DC ในประตูรีโมท (เทียบเท่า มอเตอร์ AC) จะมีขนาดเล็กกว่า AC มาก ให้มีกำลังน้อย ใช้กับงานเบาๆ ประตูเล็กๆ และต้องเปลี่ยน แบตเตอรี่ ทุกปี
        ผู้ใช้มักเข้าใจผิด กลัวว่า หากเกิดไฟฟ้ารั่ว หรือลัดวงจร ในมอเตอร์ AC 220V แล้วไฟดูดตาย แต่มอเตอร์ DC แรงต่ำ ไฟดูดไม่ตาย นี่เป็นการเข้าใจที่ผิด เพราะ มอเตอร์ ทั้งสองชนิด AC และ DC กินไฟจากแหล่งไฟที่เดียวกัน คือ จากไฟบ้าน 220V เพียงแต่ว่า มอเตอร์ AC นำไฟ 220V ไปใช้งานเลย ในขณะที่ มอเตอร์ DC นำไฟ 220V ไปผ่านหม้อแปลงให้เป็น 12V ดังนั้นโดยสรุป มอเตอร์ทั้งคู่ ไฟไม่ดูดตายเพราะ ตัวถังมอเตอร์ของทั้ง 2 แบบ เองก็มี “ สายดิน ” ไว้ป้องกันอยู่แล้ว มีความปลอดภัยสูง
        มอเตอร์ Type เป็น AC กำลังสูง เหมาะกับ ประตูบ้านที่ขนาด ต่ำกว่า 8 เมตรลงมา และหากต้องการ แบตเตอรี่สำรองก็สามารถ ติดตั้ง UPS แบตเตอรี่สำรอง ได้ เช่นกัน


มอเตอร์ เกียร์ แบบแห้ง กับ แช่น้ำมัน ต่างกันยังไง อะไรดีว่ากัน
        ระบบเกียร์ ทั้งสองแบบ ดีทั้งคู่ เพียงแต่เหมาะกับงานที่ต่างกัน มอเตอร์เกียร์แบบแห้ง คือ ระบบห้องเกียร์ตัวมอเตอร์เคลือบด้วย “ จารบี ” โดยใช้จารบีเป็นตัวหล่อลื้น และใช้ อากาศ ในการระบายความร้อน ข้อดีคือ ไม่ต้องการการดูแล เพราะไม่มีจารบีรั่ว ส่วนข้อเสียคือ ใช้งานไม่ได้บ่อย เพราะมอเตอร์จะร้อนเร็ว จึงเหมาะ กับประตูบ้านทั่วไปที่เปิดปิดไม่เกิน 15 ครั้ง/ชั่วโมง
        มอเตอร์เกียร์น้ำมัน คือ ระบบห้องเกียร์ตัวมอเตอร์ แช่อยู่ในน้ำมัน โดยใช้น้ำมันเป็นตัวหล่อลื้น ลดการสึกหรอของเกียร์ และ ระบายความร้อน ได้ดี แต่มีข้อเสีย คือ มอเตอร์ราคาแพง และต้องดูว่ามีน้ำมันรั่วหรือไม่ เพราะใช้ไปนานๆ ยางซีลกันรั่วต่างๆ หมดอายุต้องเปลี่ยน โดยมาก ระบบเกียร์ในน้ำมันจะใช้กับมอเตอร์ประตูโรงงานใหญ่ขนาด 8-15 เมตร ที่ต้องเปิด-ปิดบ่อย เช่น เปิด-ปิดมากกว่า 15 ครั้ง/ชั่วโมง
        มอเตอร์ Type มีทั้งระบบน้ำมัน และแบบแห้ง โดยแบบแห้งจะใช้ จารบีพิเศษ (Molytinum – โมลิตินั่ม) ซึ่งเป็นสาร หล่อลื่นที่ ทนความร้อนได้สูงมาก ( เช่นใช้ในเบรกรถยนต์) อายุการใช้งานนาน ไม่ต้องดูแลรักษา จึงเหมาะกับบ้านพักอาศัย ส่วน มอเตอร์แบบน้ำมันจะเน้นใช้กับ ประตูขนาดใหญ่ หรือที่มีการเปิด-ปิดบ่อยๆ


ขอบคุณข้อมูลจาก: บริษัท จี คอร์ปอเรชั่น กรุ๊ป จำกัด
                              : บริษัท โพรออโต้เกตส์ จำกัด
 
Untitled Document
แผนที่ บริษัท
ปฏิทิน
Energy Saving Switch เครื่องควบคุมไฟฟ้าในห้องพัก
รั้วไฟฟ้า (Electic Fance)
ประตูรีโมือัตโนมัติ (Automatic Gate)
 
 
Home Download Manual Support & Video Map About Us Contact Us